วันอาทิตย์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 5


ให้นักศึกษาศึกษารายะเอียดพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา แล้วตอบคำถาม
ให้นักศึกษาตอบคำถามดังนี้

1. พรบ.สภาครูฯ 2546 ประกาศใช้และบังคับเมื่อใด
                 .รบ.สภาครูฯ 2546 ประกาศใช้ 11 มิถุนายน 2546 บังคับใช้ 12 มิถุนายน 2546

2. ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูออกให้แก่ใครบ้าง
                ครู ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา บุคลากรทางการศึกษาอื่น

3. คุรุสภามีวัตถุประสงค์อะไรบ้าง
                คุรุสภามีวัตถุประสงค์ข้อ ที่สำคัญ คือ กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ ออกและเพิกถอน.ใบอนุญาต / กำหนดนโยบาย / ประสานส่งเสริมการศึกษาวิจัย

4. อำนาจหน้าที่คุรุสภา มีอะไรบ้าง
                อำนาจหน้าที่คุรุสภา มี15 ข้อ คือ ออก พัก เพิกถอนใบอนุญาต / รับรองปริญญา วุฒิบัตร ความรู้ประสบการณ์ / ออกข้อบังคับคุรุสภา / ให้คำปรึกษา เสนอแนะ ครม.เกี่วกับนโยบายหรือการพัฒนาวิชาชีพ

5. คุรุสภาอาจมีรายได้มาจากแหล่งใด
                 5 รายการ คือ ค่าธรรมเนียม / เงินอุดหนุน / ผลประโยชน์จากทรัพย์สิน / มีผู้อุทิศให้ / ดอกผลตามข้อ 1-4)

6. คณะกรรมการคุรุสภามีกี่คน ใครเป็นประธาน
                คณะกรรมการคุรุสภามี 39 คน ประธานมาจาก ครม.แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ กฎหมาย

7. กรรมการคุรุสภาที่มาจากผู้แทนตำแหน่งครูต้อง ประกอบด้วย
                 กรรมการคุรุสภาที่มาจากผู้แทนตำแหน่งครูต้อง มีใบอนุญาตและไม่เคยถูกพักใช้ / ปฏิบัติการสอนมาไม่น้อยกว่า 10 ปี / ดำรงตำแหน่งอาจารย์ 3 ไม่ต่ำกว่าวิทยฐานะชำนาญการ

8. คณะกรรมการคุรุสภามีหน้าที่ อะไร ได้แก่
                คณะกรรมการคุรุสภามีหน้าที่ 6 ข้อ สำคัญ คือ พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ

9. คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมีกี่คน ประธานคือใคร หน้าที่สำคัญ
                 คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมี 17 คน ประธาน คือ รมต.แต่งตั้งจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคุรุสภา พิจารณาการออกใบอนุญาต พักใช้หรือเพิกถอน

10. ผู้เป็นเลขาธิการคุรุสภา จะต้องมีอายุไม่เกิน
                เลขาธิการคุรุสภา ต้องมีอายุ ไม่ต่ำกว่า 30 ปีบริบูรณ์ –ไม่เกิน 65 ปี

11. ผู้ที่ไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ประกอบด้วยใคร ยกตัวอย่างประกอบ
                 ผู้ที่ไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูประกอบด้วย วิทยากร ผู้สอนตามอัธยาศัย ครูฝึกสอน ผู้บริหารระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา ครูผู้บริหารระดับปริญญาทั้งรัฐและเอกชน

12. คุณสมบัติผู้ขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู มีอะไรบ้าง
                 คุณสมบัติผู้ขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู อายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ / มีวุฒิทางการศึกษา / ผ่านการสอนในสถานศึกษาไม่น้อยกว่า 1 ปี และผ่านตามคุรุสภากำหนด

13. หากคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพไม่ออก ไม่ต่อ ใบอนุญาต ต้องจัดกระทำอย่างไร
                หากคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพไม่ออก ไม่ต่อ ใบอนุญาต ต้อง อุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการคุรุสภา ภายใน 30 วัน

14. มาตรฐานวิชาชีพ ประกอบด้วย มาตรฐานอะไร
                 มาตรฐานวิชาชีพ ประกอบด้วยมาตรฐานความรู้และประสบการณ์ / มาตรฐานการปฏิบัติงาน / มาตรฐานการปฏิบัติตน

15. มาตรฐานการปฏิบัติตน ประกอบด้วยอะไร
                 มาตรฐานการปฏิบัติตน ประกอบด้วย จรรยาบรรณต่อตนเอง , ต่ออาชีพต่อผู้รับบริการต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ และ ต่อสังคม

16. คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพอาจวินิจฉัย มีหน้าที่
                 คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพอาจวินิจฉัย มีหน้าที่ ยก/ตัก/ภาค/พัก/เพิก คือ ยกข้อกล่าวหา / ตักเตือน / ภาคทัณฑ์ / พักใช้ใบอนุญาต ไม่เกิน 5 ปี และ เพิกถอนใบอนุญาต

17. สมาชิกคุรุสภามี กี่ประเภทประกอบด้วย
                สมาชิกคุรุสภามี 2 ประเภท คือ สามัญและกิตติมศักดิ์ เป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่คณะกรรมการคุรุสภาแต่งตั้งโดยมติเอกฉันท์

18. สมาชิกภาพของสมาชิกคุรุสภาสิ้นสุดอย่างไร
                สมาชิกภาพของสมาชิกคุรุสภาสิ้นสุดเมื่อ 5 วิธี คือ ตาย/ลาออก/คณะกรรมการคุรุสภามีมติให้พ้น/ถอดถอนกิตติมศักดิ์ และถูกเพิกถอนใบอนุญาต

19. สกสค.ย่อมาจาก อะไร
                 สกสค. ย่อมาจาก คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา

20. สกสค.มีกี่คน ใครเป็นประธาน
                สกสค.มี 23 คน ประธานคือ รมต.ศธ. นิติบุคคลในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ

21. ผู้ใดสอนโดยไม่มีใบอนุญาตจะต้องถูกดำเนินการอย่างไร          
                ผู้ใดสอนโดยไม่มีใบอนุญาตหรือไม่ได้รับการยกเว้นมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือ ปรับไม่เกิน20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

22. ผู้ใดถูกพักใช้หรือแสดงตนว่ามีใบอนุญาตโดยเป็นเท็จมีโทษเป็นอย่างไร
                 ผู้ใดถูกพักใช้หรือแสดงตนว่ามีใบอนุญาตโดยเป็นเท็จมีโทษ จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือ ปรับไม่เกิน60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

23. ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พรบ.สภาครูฯ2546 คือ ใคร
                 ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พรบ.สภาครูฯ2546 คือ (พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร)

24. อัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู เป็นอย่างไร
                 ต่อ/แทน , รอง , นาญ , ขึ้น = 200 , 300 , 400 . 500 บาท หมายถึง ค่าต่อใบอนุญาตหรือใบแทนใบอนุญาต 200 บาท , ใบรับรอง 300 บาท , แสดงความชำนาญการ 400 บาท , ขึ้นทะเบียนใหม่ 500 บาท)


2.ให้นักศึกษาศึกษามาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา ซึ่งประกอบด้วย
1.นักศึกษาเข้าใจเกี่ยวกับวิชาชีพอย่างไร                                                                                                  
                วิชาชีพ หรือ Profession เป็นอาชีพให้บริการแก่สาธารณชนที่ต้องอาศัยความรู้ ความชำนาญเป็นการเฉพาะไม่ซ้ำซ้อนกับวิชาชีพอื่น และมีมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพ โดยผู้ประกอบวิชาชีพต้องฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างเพียงพอก่อน ที่จะประกอบวิชาชีพและ เป็นงานที่ตนได้ปฏิญาณว่าจะอุทิศตัวทำไปตลอดชีวิต เป็นงานที่ต้องได้รับการอบรมสั่งสอนมานานเป็นงานที่มีขนบธรรมเนียมและจรรยาของหมู่คณะโดยเฉพาะ ได้รับค่าตอบแทนในลักษณะค่าธรรมเนียม (fee) หรือ ค่ายกครู มิใช่ค่าจ้าง(Wage)

2.วิชาชีพควบคุมท่านเข้าใจอย่างไร
                 เป็นหลักประกันและคุ้มครองให้ผู้รับบริการทางการศึกษาได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพ    รวมทั้งจะเป็นการ พัฒนาและยกระดับมาตรฐานวิชาชีพให้สูงขึ้น

3.การประกอบวิชาชีพควบคุมมีข้อจำกัดอย่างไร
 การประกอบวิชาชีพควบคุมมีข้อจำกัดและเงื่อนไขของคุรุสภา ดังนี้
            1.  ต้องได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพ โดยยื่นขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามที่คุรุสภากำหนด  ผู้ไม่ได้รับอนุญาต  หรือสถานศึกษาที่รับผู้ไม่ได้รับใบอนุญาตเข้าประกอบวิชาชีพควบคุมในสถานศึกษา จะได้รับโทษตามกฎหมาย
            2. ต้องประพฤติตนตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งต้องพัฒนา ตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อดำรงไว้ซึ่งความรู้ความสามารถ และความชำนาญการตามระดับ คุณภาพของมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพ
            3. บุคคลผู้ได้รับความเสียหายจากการประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ มีสิทธิ กล่าวหา    หรือกรรมการคุรุสภา กรรมการมาตรฐานวิชาชีพ และบุคคลอื่นมีสิทธิกล่าวโทษผู้ประกอบวิชาชีพที่ประพฤติผิดจรรยาบรรณได้
              4. เมื่อมีการกล่าวหาหรือกล่าวโทษ คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพอาจวินิจฉัยชี้ขาดให้ยกข้อกล่าวหา/กล่าวโทษ ตักเตือน ภาคทัณฑ์ พักใช้ใบอนุญาต หรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้  และผู้ถูกพักใช้ หรือเพิกถอนใบอนุญาตไม่สามารถประกอบวิชาชีพต่อไปได้

4.มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาหมายถึงอะไร พรบ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546กำหนดให้มีมาตรฐานวิชาชีพกี่ด้านประกอบด้วยอะไรบ้าง
                 ความหมายของมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษามาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา คือ ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ และคุณภาพที่พึงประสงค์ในการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องประพฤติปฏิบัติตาม เพื่อให้เกิดคุณภาพในการประกอบวิชาชีพสามารถสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาให้แก่ผู้รับบริการจากวิชาชีพได้ว่าเป็นบริการที่มีคุณภาพตอบสังคมได้ว่าการที่กฎหมายให้ความสำคัญกับวิชาชีพทางการศึกษา และกำหนดให้เป็นวิชาชีพควบคุม นั้นเนื่องจากเป็นวิชาชีพที่มีลักษณะเฉพาะ ต้องใช้ความรู้ ทักษะ และความเชี่ยวชาญในการประกอบวิชาชีพกำหนดให้มีมาตรฐานวิชาชีพ 3ด้าน ประกอบด้วย
            1. มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ หมายถึง ข้อกำหนดสำหรับผู้ที่จะเข้ามาประกอบวิชาชีพ จะต้องมีความรู้และมีประสบการณ์วิชาชีพเพียงพอที่จะประกอบวิชาชีพ จึงจะสามารถขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเพื่อใช้เป็นหลักฐานแสดงว่าเป็นบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ และมีประสบการณ์พร้อมที่จะประกอบวิชาชีพทางการศึกษาได้
            2. มาตรฐานการปฏิบัติงาน หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในวิชาชีพให้เกิดผลเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด พร้อมกับมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความชำนาญในการประกอบวิชาชีพ ทั้งความชำนาญเฉพาะด้านและความชำนาญตามระดับคุณภาพของมาตรฐานการปฏิบัติงาน หรืออย่างน้อยจะต้องมีการพัฒนาตามเกณฑ์ที่กำหนดว่ามีความรู้ ความสามารถ และความชำนาญ เพียงพอที่จะดำรงสถานภาพของการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพต่อไปได้หรือไม่ นั่นก็คือการกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องต่อใบอนุญาตทุกๆ 5 ปี
            3. มาตรฐานการปฏิบัติตน หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับการประพฤติตนของผู้ประกอบวิชาชีพ โดยมีจรรยาบรรณของวิชาชีพเป็นแนวทางและข้อพึงระวังในการประพฤติปฏิบัติ เพื่อดำรงไว้ซึ่งชื่อเสียง ฐานะ เกียรติ และศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ ตามแบบแผนพฤติกรรม ตามจรรยาบรรณของวิชาชีพที่คุรุสภาจะกำหนดเป็นข้อบังคับต่อไป หากผู้ประกอบวิชาชีพผู้ใดประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพทำให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นจนได้รับการร้องเรียนถึงคุรุสภาแล้ว ผู้นั้นอาจถูกคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพวินิจฉัยชี้ขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ยกข้อกล่าวหา  ตักเตือน  ภาคทัณฑ์  พักใช้ใบอนุญาตมีกำหนดเวลาตามที่เห็นสมควร แต่ไม่เกิน 5 ปี   เพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ

5.ท่านเข้าใจมาตรฐานความรู้และประสบการณ์อย่างไร สรุปและอธิบาย
                ข้อกำหนดสำหรับผู้ที่จะเข้ามาประกอบวิชาชีพ จะต้องมีความรู้และมีประสบการณ์วิชาชีพเพียงพอที่จะประกอบวิชาชีพ จึงจะสามารถขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเพื่อใช้เป็นหลักฐานแสดงว่าเป็นบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ และมีประสบการณ์พร้อมที่จะประกอบวิชาชีพทางการศึกษาได้

6.ท่านเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานการปฏิบัติงานและปฏิบัติตนของครูผู้สอนเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
                มาตรฐานการปฏิบัติงานและปฏิบัติตนของครูผู้สอนแตกต่างกัน ซึ่งมาตรฐานการปฏิบัติงาน เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในวิชาชีพให้เกิดผลเป็นไปตามเป้าหมายที่กําหนด พร้อมกับมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความชํานาญในการประกอบวิชาชีพ ทั้งความชํานาญเฉพาะด้านและความชํานาญตามระดับคุณภาพของมาตรฐานการปฏิบัติงาน ส่วนปฏิบัติตนของครูผู้สอนข้อกําหนดเกี่ยกับการประพฤติตนของ ผู้ประกอบวิชาชีพ โดยมีจรรยาบรรณของวิชาชีพเป็นแนวทางและข้อพึงระวังในการประพฤติปฏิบัติ เพื่อดํารงไว้ซึ่งชื่อเสียง ฐานะ เกียรติ และศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ ตามแบบแผนพฤติกรรม ตามจรรยาบรรณของวิชาชีพที่คุรุสภาจะกําหนดเป็นข้อบังคับต่อไป








วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 4



               
ให้นักศึกษาอ่านเนื้อหาแล้วตอบคำถาม
ตอบคำถามต่อไปนี้ (1-3 พ.ร.บ.ภาคบังคับ, 4 พ.ร.บ.บริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ)


1.เหตุผลทำไมต้องประกาศพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545

                เหตุผลในการประกาศให้พระราชบัญญัติฉบับนี้  คือโดยที่กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติได้กำหนดให้บิดา  มารดา หรือผู้ปกครองมีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลได้รับการศึกษาภาคบังคับจำนวนเก้าปี  โดยให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดเข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก  เว้นแต่จะสอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับ  จึงสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการประถมศึกษา  เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับกฎหมายดังกล่าว  จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

2.ท่านเข้าใจความหมายตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 อย่างไร
·       ผู้ปกครอง”  หมายความว่า  บิดามารดา  หรือบิดา  หรือมารดา  ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  และหมายความรวมถึงบุคคลที่เด็กอยู่ด้วยเป็นประจำหรือที่เด็กอยู่รับใช้การงาน
·       เด็ก”  หมายความว่า  เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดจนถึงอายุย่างเข้าปีที่สิบหก  เว้นแต่เด็กที่สอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับแล้ว
·       การศึกษาภาคบังคับ”  หมายความว่า  การศึกษาชั้นปีที่หนึ่งถึงชั้นปีที่เก้าของการศึกษา
ขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
·       องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น”  หมายความว่า  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีสถานศึกษาอยู่ในสังกัด

3.กรณีผู้ปกครองไม่ส่งเข้าเรียนตามที่กฎหหมายฉบับนี้กำหนดจะต้องถูกลงโทษอย่างไร และถ้าเด็กไม่สามารถเข้ารับการศึกษาใครจะเป็นผู้มีอำนาจในการผ่อนผันเด็กเข้าเรียน

                ผู้ปกครองที่ไม่ส่งเข้าเรียนตามที่กฎหมายกำหนดตามมาตรา  6  จะต้อง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทและถ้าเด็กไม่สามารถเข้ารับการศึกษาได้ผู้มีอำนาจในการผ่อนผันเด็กเข้าเรียน คือ สถานศึกษามีอำนาจผ่อนผันให้เด็กเข้าเรียนก่อนหรือหลังอายุตามเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับได้  ทั้งนี้  ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด

4. ให้นักศึกษาสรุปประเด็นสำคัญที่ได้จากการอ่านพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ มีทั้งหมด 21 ข้อ
·       อำนาจหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการกำหนดไว้ในพรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
·       อำนาจหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการ คือ  จัดการศึกษา  บำรุงศาสนา และ สืบสานศิลปวัฒนธรรม 
·       การจัดระเบียบกระทรวงศึกษาธิการจัดได้เป็น 3 ส่วนคือ ส่วนกลาง เขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาของรัฐระดับปริญญาที่เป็นนิติบุคคล
·       การกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือนของข้าราชการในกระทรวงศึกษาธิการให้คำนึงถึง
         - คุณวุฒิ ประสบการณ์ และมาตรฐานวิชาชีพ
        - ลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบ และคุณภาพงาน
·       บทบาทของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ที่จะต้องดำเนินการตาม พรบ. นี้คือ อำนาจในการออกกฎกระทรวง ระเบียบและประกาศ    และ ตีความและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ดำรงตำแหน่งและหน่วยงาน
·       การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง  ประกอบด้วย ส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ,สำนักงานรัฐมนตรีและ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
·       ส่วนราชการส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการสำนักงานรัฐมนตรี ไม่เป็นนิติบุคคล ส่วน  สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
 สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาและ  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นนิติบุคคล
·       ผู้บังคับบัญชาข้าราชการในกระทรวงศึกษาธิการ คือ  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
·       อำนาจหน้าที่ของสภาการศึกษา คือ พิจารณาเสนอแผนการศึกษาแห่งชาติพิจารณาเสนอนโยบายแผนและมาตรฐานการศึกษา   และพิจารณาเสนอนโยบายและแผนในการสนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษา
·       ประธานคณะกรรมการสภาการศึกษา คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
·       คณะกรรมการสภาการศึกษา กำหนดตำแหน่งประธานกรรมการไว้ใน พรบ. 2546
·       สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทำหน้าที่รับผิดชอบงานเลขานุการของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
·       หน้าที่ของผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ คือ นิเทศให้คำปรึกษาและแนะนำเพื่อ การปรับปรุง ,ตรวจราชการ และศึกษาวิเคราะห์ วิจัย
·       หน่วยงานระดับที่สามารถมีผู้ตรวจราชการได้ คือ กระทรวงศึกษาธิการ ,กรมหรือหน่วยงานเทียบเท่ากรม และ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
·       บทบาทของคณะตรวจราชการในระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา คือ ศึกษา วิเคราะห์วิจัย นิเทศติดตามและประเมิน ผลการบริหารและการดำเนินงาน
·       บทบาทของกระทรวงศึกษาธิการที่มีต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ  ประเมินความพร้อมในการจัดการศึกษา เสนอแนะการจัดสรรงบประมาณอุดหนุนการจัดการศึกษา และ ประสานส่งเสริมการจัดการศึกษา
·       ในกรณีที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาไม่อาจจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือการ ศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการจะเป็นผู้จัด
·       หากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาไม่สามารถจัดได้ หน่วยงานที่สามารถจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ คือหน่วยงานดังต่อไปนี้ 
การจัดการศึกษาในรูปแบบการศึกษานอกระบบหรือตามอัธยาศัย
       -  การจัดการศึกษาสำหรับคนที่มีความสามารถพิเศษ
       - การจัดการศึกษาสำหรับผู้ที่มีความบกพร่อง ทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคมการสื่อสารและการเรียนรู้หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพ
·       ผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสำนักงานรองจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ คือ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ  และเลขาธิการ
·       ผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสถานศึกษาของรัฐในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา คือ
เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา